มุมความรู้สำหรับพนักงานให้การดูแล
การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้ารับการประเมิน
1. วิธีการประเมิน
การประเมินสมรรถนะของคุณวุฒิวิชาชีพบริการสุขภาพ อาชีพพนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers) ชั้น 2 ประกอบด้วย
1. การสอบข้อเขียน
2. การประเมินทักษะปฏิบัติ
3. การสัมภาษณ์
หน่วยสมรรถนะทั้งหมดในมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพบริการสุขภาพ อาชีพพนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/ Care givers) มีทั้งหมด 15 หน่วย ประกอบด้วย
10101 ช่วยดูแลความสะอาดร่างกายของผู้ป่วย ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
10102 ช่วยดูแลความสุขสบายของผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
10201 ดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อความสะอาด ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
10202 ดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
10203 ดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อความสุขสบาย ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
10301 ช่วยดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารและน้ำทางปากภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
10302 ช่วยวัดสัญญาณชีพ น้ำหนัก และส่วนสูงในผู้ป่วยที่มีอาการคงที่และไม่มีภาวะเสี่ยง โดยใช้ระบบดิจิตอลภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
10303 ส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วย ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
10304 ช่วยพยาบาลวิชาชีพในการจัดการผู้ป่วยที่มีความต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉิน
10305 ช่วยเหลือพยาบาลวิชาชีพในการทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วยที่ถึงแก่กรรม
10401 จัดการวัสดุอุปกรณ์การรักษาพยาบาล ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
10402 ทำความสะอาดอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่าง ๆ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
10403 เก็บรักษาอุปกรณ์การรักษาพยาบาลชนิดต่าง ๆ ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
10501 ช่วยปฏิบัติงานธุรการของหน่วยงาน ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
10502 ติดต่อสื่อสารภายในองค์กรภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
2. แนะนำให้เข้าอบรมหลักสูตรพนักงานให้การดูแล คุณวุฒิวิชาชีพ ระดับ 2
โดยสามารถเข้าอบรมหลักสูตรพนักงานให้การดูแล คุณวุฒิวิชาชีพ ระดับ 2 ได้ที่ลิงก์ https://e-training.tpqi.go.th/ โดยสมัครสมาชิกก่อนเข้าสู่ระบบและค้นหาหลักสูตรพนักงานให้การดูแล ชั้น 2 จะมีคำอธิบายหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร และมอดูลฝึกอบรมของคุณวุฒิวิชาชีพ (Module Training) ต้องทำแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้ ก่อนและหลังการอบรม มีรายละเอียดดังนี้
มอดูลฝึกอบรมของคุณวุฒิวิชาชีพ (Module Training) 2 ชั่วโมง 1 นาที
มอดูลที่ 1 การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล ความสุขสบาย และสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย 25 นาที
มอดูลที่ 2 การฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วย 15 นาที
มอดูลที่ 3 การจัดการผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน และการดูแลเมื่อถึงแก่กรรม 34 นาที
มอดูลที่ 4 การจัดการอุปกรณ์การรักษาพยาบาล 25 นาที
มอดูลที่ 5 การสนับสนุนงานธุรการในหน่วยงาน 20 นาที
สื่อวีดิทัศน์แสดงกระบวนการประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ 16 นาที
สื่อวีดิทัศน์แสดงกระบวนการประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ 16 นาที
3. แนะนำให้เข้าไปศึกษาข้อมูลในเว็บไซต์สภาการพยาบาล
โดยเข้าไปในองค์กรรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ และเข้าไปใน page มุมความรู้ พนักงานให้การดูแลที่ลิงก์ https://www.tnmc.or.th/news/537 จะแนะนำรายชื่อหนังสือที่ให้ความรู้สำหรับพนักงานให้การดูแล และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ
รายชื่อหนังสือและสื่อให้ความรู้สำหรับพนักงานให้การดูแล
หนังสือให้ความรู้สำหรับพนักงานให้การดูแล
1. คู่มือปฏิบัติการพยาบาล
สุปาณี เสนาดิสัย และ มณี อาภานันทิกุล,บรรณาธิการ.(2552). คู่มือปฏิบัติการพยาบาล.กรุงเทพ:บริษัทจุดทอง.
2. แนวคิดพื้นฐานและหลักการพยาบาล เล่ม 1
เรณู สอนเครือ. (2553). แนวคิดพื้นฐานและหลักการพยาบาล เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 9. นนทบุรี :ยุทธรินทร์การพิมพ์.
3. การพยาบาลพื้นฐาน แนวคิดและการปฏิบัติ
สุปาณี เสนาดิสัย และ วรรณภา ประไพพานิช. (2554). การพยาบาลพื้นฐาน แนวคิดและการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพ: บริษัท จุดทอง.
4. แนวคิดพื้นฐานและหลักการพยาบาล เล่ม 2
อภิญญา เพียรพิจารณ์. (บรรณาธิการ.) (2553). แนวคิดพื้นฐานและหลักการพยาบาล เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการ สถาบันพระบรมราชชนก.
5. การพยาบาลพื้นฐาน: ปฏิบัติการพยาบาล=Fundamentals of nursing practice
อัจฉรา พุ่มดวง,บรรณาธิการ.(2555).การพยาบาลพื้นฐาน:ปฏิบัติการพยาบาล=Fundamentals of nursing practice.พิมพ์ครั้งที่3.กรุงเทพ:วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย.
สื่อการเรียนรู้
2. https://youtu.be/t5H1t8-7Vs4